
กลยุทธ์ด้านข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นกับทุกองค์กร

ทันทีที่เราเริ่มตระหนักว่าข้อมูลของเราเสมือนหนึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐานทรงคุณค่า สิ่งที่ตามมาคือการจัดทำกลยุทธ์ต่างๆ ด้านข้อมูล ซึ่งทั้งหมดย่อมเกี่ยวพันกับความเข้าใจเรื่องข้อมูลในแง่มุมต่างๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ รวมไปถึงการนำไปใช้ตามจุดประสงค์ที่เราระบุไว้ เราจะลองมาดูหลักการสำคัญ 5 ประการที่เราจะใช้พัฒนากลยุทธ์ด้านข้อมูลของเรา เพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กรสูงสุด

1. กลยุทธ์ด้านข้อมูลควรมีการวบรวมข้อมูลให้หลากหลาย
ทุกองค์กร ย่อมมีแผนกต่าง ๆ กัน และร่วมกันเป็นเสมือนหนึ่งห่วงโช่คุณค่า ที่นำสู่ตัวลูกค้า หรือผู้รับบริการ สมาชิก นั่นย่อมหมายถึงในทุกกระบวนการการทำงาน มีความเชื่อมโยงกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ต่างมีบทบาทหน้าที่ตามภารกิจที่ต่างกันก็จริง แต่สุดท้ายเป้าหมายก็คือการร่วมมือกันส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุด ดังนั้นข้อมูลอันเกิดจากกระบวนการทำงานในแต่ละส่วน ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลทรัพยากรด้านต่างๆ ข้อมูลซัพพลายเออร์ ข้อมูลการจ่ายเงินภายใน ภายนอก ฯลฯ ล้วนเป็นประโยชน์เมื่อนำมารวมกันในการสร้าง และปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดความเสี่ยงขององค์กร สร้างกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ข้อมูลด้านผลผลิต กับข้อมูลด้านบริการ เป็นข้อมูลที่สามารถใช้ผนวกเข้ากับการปรับปรุงคุณความพึงพอใจกับลูกค้า หรือผู้รับบริการ โดยเฉพาะข้อมูลสำหรับลูกค้านั้น
กินความหมายวงกว้างมากๆ ซึ่งการจัดเก็บให้หลากหลายย่อมเป็นเรื่องดีกับธุรกิจ แต่ก็มีประเด็นเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมาย
ที่พึงระวังเป็นอย่างมาก ดังนั้นทางแก้ที่ดีก็คือการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ตรงที่สุด ข้อมูลจากทุกที่ ที่นำมาร่วมกันหากมีความหลากหลาย ย่อมสร้างโอกาสที่เพิ่มขึ้นในการมองภาพการแก้ปัญหาที่ชัดเจนขึ้น
2. กลยุทธ์ด้านข้อมูลควรกำหนดให้นำข้อมูลมาร่วมในกระบวนการตัดสินใจให้มากที่สุด
ฝันร้ายของการทำกลยุทธองค์กร ก็คือการไม่ได้ถูกนำไปปฎิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน กลยุทธ์ด้านข้อมูล ก็เช่นกัน เมื่อจุดเริ่มต้นของการทำการวิเคราะห์ข้อมูล คือการนำข้อมูลไปใช่ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ดังนั้นแผนกลยุทธ์ข้อมูลที่ดี จึงควรกำหนดให้ทุกภาคส่วนในหน่วยงานนำข้อมูลไปประกอบรายงาน การตัดสินใจ ทุกครั้ง หรือมากที่สุด หน่วยปฎิบัติงานก็อาจใช้
ข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรในปี ที่ผ่านๆ มาของตนมาวางแผนการจัดสรรทรัพยากรในการทำงานในปีถัดไป ข้อมูลจากลูกค้า
ก็ควรจะสามารถนำมาใช้ในการแบ่งประเภท เพื่อดำเนินการบริการลูกค้าที่แตกต่างกัน ให้คุ้มกับต้นทุน และเป็นการเสริมสร้างคุณค่า
เพิ่มขึ้นให้กับการบริการ ซึ่งหมายถึงทุกหน่วยงานย่อมเริ่มต้นได้จากการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาปรับปรุงกระบวนการทำงานที่มีอยู่ ทั้งในแง่ประสิทธิภาพ และต้นทุนการผลิต
3. กลยุทธ์ด้านข้อมูลควรกำหนดบทบาทข้อมูลให้เป็นหลักสำหรับด้านการพัฒนาธุรกิจใหม่
ข้อมูลการทำงานต่างๆ ไม่เพียงจะเป็นประโยชน์ในแง่การปรับปรุง แต่การนำข้อมูลมาประกอบกัน รวมกันย่อมสร้างความหมายใหมๆ ให้กับชุดข้อมูลนั้นๆ เรากำลังพูดถึงโอกาสใหมๆ ทางธุรกิจ ที่อาจเกิดจาการปรับปรุงแก้ไข กระบวนการทำงานเดิมๆ แต่อาจเกิดสิ่งใหม่ที่ต่างออกไป จนสามารถขยายเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหมๆ ได้ กลยุทธ์ด้านข้อมูลที่ดีจึงควรกำหนดแนวทาง
ด้านพัฒนาธุรกิจใหม่เข้าร่วมด้วย
4. กลยุทธ์ด้านข้อมูลที่ดีมักเลือกพิจารณาที่พฤติกรรมของข้อมูล
ข้อมูลลูกค้าที่เก็บได้ อาจแฝงด้วยอคติหลายอย่าง ดังนั้นการฟังเสียงข้อมูล หรือคำบอกเล่าจากลูกค้าอย่างเดียวจึงอาจทำให้ กลยุทธ์ขององค์กรเกิดความไขว้เขว และหลงทางไปตามอคติเหล่านั้นได้ ทางออกก็คือการสังเกตุพฤติกรรมของข้อมูล หรือลูกค้าเพื่อเป็นหลักในการตัดสินใจเพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพราะพฤติกรรมย่อมเป็นข้อมูลที่แทบไม่มีเรื่องอคติเจือปน เพราะถือเป็นการแสดงออกจากข้อมูลอย่างแท้จริง
5. กลยุทธ์ด้านข้อมูลที่ดีควรกำหนดข้อแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานให้ชัดเจน
ความหมายก็คือ ในการทำงานที่เป็นแผนก หรือหน่วยงานในทุกองค์กร ย่อมมีปัญหาเรื่องไซโล หรือการทำงานที่แต่ละหน่วยตั้งเป็นแท่งๆ เดี่ยวๆ โดยปราศจากการเชื่อมโยงใดๆ การแบ่งปันใดๆ ในเชิงข้อมูลการทำงาน ดั้งนั้นการกำหนดให้มีการแบ่งปัน ส่งมอบข้อมูลข้าม
หน่วยงาน ย่อมเป็นการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดี บรรยากาศการทำงานเป็นทีม ความไว้เนื้อเชื่อใจในการทำงาน ตลอดจนผลสัมฤทธิ์
ร่วมกันในฐานะองค์กร ซึ่งก็จะสอดคล้องกับข้อมูลที่เราเก็บมาอย่างหลากหลาย และได้ถูกนำมารวมกันเพื่อก่อให้คุณค่าและความหมายใหม่ๆ ให้กับองค์กร
ทั้งห้าข้อคือแนวหลักการวางกลยุทธ์ในการสร้างความเข้าใจพื้นฐานด้านการทำงานที่เกี่ยวกับข้อมูล เพราะข้อมูลนั้นไม่ว่าจะมีขนาด
ปริมาณใหญ่ หรือเล็ก ก็ล้วนจะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ได้ก็ด้วยความเข้าใจ ถึงคุณค่า การนำมาใช้ และการนำผลวิเคราะห์ไปลงมือปฎิบัติ เพื่อทดสอบหาข้อผิดพลาดต่างๆ มาแก้ไขปรับปรุงกลยุทธ์ให้ดียิ่งขึ้น และสอดคล้องกับทำงานต่อไป ดังนั้นการเริ่มต้นจัดการด้านข้อมูล
จึงเริ่มจากการวางกลยุทธ์ที่เข้าใจพื้นฐานจริงๆ ในการนำข้อมูลไปใช้ ก่อนที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ ของเรา และเมื่อเข้าใจแล้วการก้าวสู่ BIG DATA ของเราและองค์กรจึงเป็นการก้าวย่างที่มั่นคงอย่างแท้จริง
ดัดแปลง และเรียบเรียงจาก
THE DIGITAL TRANSFORMATION PLAYBOOK : DAVID L. ROGERS
